ท่ามกลางผู้คนขวักไขว่ตามท้องถนนการจะถามถึงหนังประทับใจสักเรื่องคงได้คำตอบได้ไม่ยากแต่หากจะพูดถึงโปสเตอร์หนังที่ประทับใจคงจะใช้เวลาสักหน่อยหรืออาจจะนึกไม่ออกเลยก็ได้

ในยุคสมัยเกือบทุกอย่างย้ายไปอยู่ในแพลตฟอร์มดิจิทัล การดูหนังย้ายจากโรงหนังมาอยู่ในบ้านหรือแม้แต่อยู่ในโทรศัพท์มือถือ โปสเตอร์หนังคงจะลอยไกลออกไปเรื่อยๆ

ในยุคสมัยที่การสื่อสารส่วนใหญ่ยังอาศัยสิ่งพิมพ์เป็นหลัก การที่จะให้ใครสักคนรู้สึกอยากเสียเงินมาดูหนังสักเรื่องโปสเตอร์หนังจึงถูกใช้เรียกความสนใจไม่ว่าจะเป็นหนังที่ฉายในโรงหนังหรือแม้แต่การดูหนังที่บ้านนั้นตามร้านเช่า VHS ก็นิยมติดโปสเตอร์เพื่อให้ลูกค้าเห็นว่ามีหนังเรื่องไหนเข้ามาแล้วและเพื่อให้นักดูหนังสนใจจึงใส่รายละเอียดของหนังไปบ้างทำให้โปสเตอร์หนังเป็นมากกว่าใบประกาศทั่วไปทำให้บางคน (รวมถึงผมด้วย) หลงไหลศิลปะบนโปสเตอร์หนังและอยากสะสมงานจากหนังที่ประทับใจ มีความทรงจำที่ดี หรือแม้แต่โปสเตอร์ที่ออกแบบอย่างประณีต

ว่าด้วยเรื่องการสะสมสิ่งที่ตามมาก็คือหลักการสิ่งเอาเข้าจริงๆก็เป็นเหมือนค่ามาตราฐานกลางในการเชิงตลาดซึ่งบางคนก็อาจไม่ได้ใส่ใจมากนัก แต่ถึงอย่างไรการจะเริ่มสะสมก็อาจจะจำเป็นต้องรู้ข้อมูลพวกนี้อยู่บ้าง

โดยทั่วไปแล้วขนาดของโปสเตอร์จะไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่และแต่ละพื้นที่ก็มีหลายขนาดตามการใช่งาน เช่นในอเมริกาจะมีขนาดที่เรียกว่า one sheet, three sheet, 6 sheets หรือแม้แต่ขนาดใหญ่มากๆอย่าง 24 sheets แบ่งตามประเภทการใช้งานซึ่งขนาด US one sheet จะเท่ากับ 27นิ้ว x 40นิ้ว เป็นขนาดที่ไดรับความนิยมและใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนขนาดอื่นๆส่วนใหญ่จะใช้ติดตามโรงหนังซึ่งขนาดใหญ่เหล่านี้เริ่มหยุดใช้หลังช่วงยุค 70s เป็นต้นมา

นอกจากฝั่งตะวันตก โปสเตอร์หนังที่ฉายในประเทศอื่นๆก็ยังได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อยและหนึ่งในโปสเตอร์ที่ได้รับความนิยมคือโปสเตอร์จากญี่ปุ่นที่พูดได้เลยว่าออกแบบนั้นเป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ โดยขนาดที่นิยมจนได้ยินติดหูจากผู้คลั่งไคล้หลงไหลในโปสเตอร์หนังจากแดนอาทิตย์อุทัยคือขนาด B2 20นิ้ว x 28นิ้ว

แต่ถึงกระนั้นโปสเตอร์หนังจากที่อื่นๆก็ยังนิยมในหมู่นักสะสมร่วมถึงโปสเตอร์จากไทยเราโดยเฉพาะที่เป็นภาพวาดที่นิยมใช้ตามต่างจังหวัดสมัยก่อน

เสน่ห์อย่างหนึ่งของการสะสมจากช่วงสมัยหนึ่งคือการกักเก็บช่วงเวลานั้นไว้กับของสิ่งนั้นด้วย หลายอย่างมันก็เป็นความสนุกของการสะสมอย่างเช่นโปสเตอร์สมัยก่อนจะถูกควบคุมการพิมพ์โดยค่ายหนังหรือสมาคมผู้ผลิตเลยมีการประทับตราโรงพิมพ์หรือหน่วยงานต่างๆหรือแม้แต่การนับจำนวนการพิมพ์

แม้วิธีการหรือลักษณะการพิมพ์, กระดาษ, การพับโดยเครื่องพับล้วนแต่มีเรื่องราวให้เราสนุกกับการสะสมได้ทั้งสิ้น

สำหรับผมที่โตมากับยุค VHS และยังอยู่ในช่วงที่ต้องดูรอบหนังฉายในหนังสือพิมพ์นั้น ผมจะชอบโปสเตอร์ที่เป็นภาพวาดมากกว่าภาพถ่ายเพราะมันคือสิ่งที่ผมจดจำและสัมผัสได้จากหนังโรงหนังในวัยเด็ก

ไม่แน่ว่าการดูหนังครั้งหน้า คุณออกจะหยุดมองโปสเตอร์หนังสักนิดหรือถ้ามันเกิดสะกิดใจและสื่อถึงกันได้คุณอาจจะกลายเป็นนักสะสมคนต่อไปก็ได้..

Leave a comment